กระจกอบเทมเปอร์ กระจกนิรภัยเทมเปอร์

กระจกอบเทมเปอร์ หรือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์  (architectural flat tempered safety glass) คือ การนำกระจกแผ่นธรรมดามาเผาที่อุณหภูมิ 650 ถึง 800 องศาเซลเซียส แล้วใช้ลมเป่าทั้งสองด้านเพื่อให้กระจกเย็นลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผิวของกระจกจะอยู่ในสภาพแรงอัด ขณะที่ภายในของกระจกอยู่ในสภาวะแรงดึง ด้วยผิวที่อยู่ในสภาวะแรงอัด  เมื่อกระจกถูกกระแทกหรือทุบจนแตก แผ่นกระจกจะแตกละเอียดเป็นเม็ดเล็ก ๆ  ที่ไม่มีคม มีความแข็งกว่ากระจกธรรมดา 2 ถึง 5 เท่า มักนิยมใช้งานกับยานพาหนะ หรือส่วนของอาคารที่ง่ายต่อการถูกกระแทก

[metaslider id=213]

กระจกอบเทมเปอร์ สามารถเห็นในชีวิตประจำวันได้ง่ายนั้นคือ กระจกหน้ารถยนต์ กระจกหลังคากันสาด กระจกสกายไลท์

กระจกนิรภัยหลายชั้น (architectural flat laminaty safeted glass) เป็นกระจกที่เพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้มากขึ้น

ขั้นตอนการผลิตกระจกอบเทมเปอร์ดังนี้ 

ขั้นที่ 1 การเตรียมกระจก โดยการคัดเลือกกระจกที่มีคุณภาพดี ไม่มีตำหนิ มีความหนา ความกว้าง และความยาว แล้วตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ

ขั้นที่ 2  ทำความสะอาดกระจกซึ่งต้องใช้น้ำสะอาดล้างขัดและเป่ากระจกให้แห้ง ตั้งพักไว้ในที่เหมาะสม

ขั้นที่ 3  การเข้าประกอบวัสดุคั่นกลางกระจก โดยการนำฟิล์มโพลีไวนีลบิวไทราล (polyvinyl butyral) ที่มีคุณสมบัติเหนียวและแข็งแรงทนทานมาปิดทับหน้ากระจก ที่ผ่านการทำความสะอาดแล้ว และนำกระจกอีกแผ่นมาประกบลงบนกระจกแผ่นแรก ดึงฟิล์มให้ดึง โดยประกอบกระจกให้ขอบเสมอกันทุกด้าน แล้วตัดฟิล์มส่วนเกินทิ้งไป

ขั้นที่ 4  การอัดประกบ กระจกที่ประกอบกับวัสดุคั่นกลางแล้ว จะถูกอัดประกบโดยใช้ความร้อนที่มีอุณหภูมิ 120 ถึง 130 องศาเซลเซียส แล้วใช้ลูกกลิ้งรีดกระจกทั้งสองแผ่นให้ติดสนิทกัน

ขั้นที่ 5 การอบ กระจกที่อัดประกอบแล้วจะเป็นกระจกกึ่งสำเร็จรูป คือเนื้อฟิล์มจะใสขึ้นแต่ยังไม่ใสมากนัก จึงต้องนำเข้าเตาอบใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เตาอบใหญ่เป็นเตาอบซึ่งอบกระจกโดยควบคุมความร้อนและความดันจนได้

ขั้นที่ 6  กระจกนิรภัยหลายชั้นมีคุณสมบัติป้องกันขโมยอย่างได้ผลอย่างดี เพราะยากแก่การเจาะผ่าน และเมื่อเกิดการกระแทกหรือชนอย่างรุนแรง ชิ้นส่วนที่แตกจะไม่หลุดออกจากกัน ยังคงสภาพเดิม เพียงแต่มีรอยร้าวเกิดขึ้น ซึ่งสร้างความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อย่างมาก

กระจกชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับกระจกอบเทมเปอร์ ได้แก่

กระจกฉนวน (sealed insulating glass) เป็นกระจก 2 แผ่นวางคู่ขนานกัน มีระยะห่างพอสมควร ขอบกระจกทุกด้านมีสารจำพวกการบรรจุอยู่เพื่อให้กระจกคงรูป และป้องกันอาหาศชื้นจากภายนอกที่จะเข้ามาในช่องว่างระหว่างแผ่นกระจก มีประสิทธิภาพมากกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า มีคุณสมบัติสามารถลดปริมาณความร้อนที่ส่งผ่านกระจก ลดระดับเสียงที่ผ่านผนังอาคารลง

กระจกกันฉนวนกระจกเสริมลวด (wired glass) เป็นกระจกที่มีเส้นลวดแผงตาข่ายลวดฝังภายในกระจก จัดเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง เมื่อแตก เส้นลวดจะช่วยยึดเศษกระจกไม่ให้หลุดลงมา ซึ่งสร้างความปลอดภัยได้เป็นอย่างมาก โดยกระจกชนิดนี้มี 2 ชนิดคือ กระจกชนิดขุ่น (โปร่งแสง) และชนิดใส (โปร่งใส)

กระจกกันกระสุน เป็นกระจกที่ผลิตโดยการนำกระจกนิรภัยชนิดพิเศษมาติดกับกระจกนิรภัยหลายชั้น โดยมีแผ่นพิมพ์-พลาสติกขั้นกลาง (ได้แก่ โพลีคาร์บอเนต โพลีไวนีลบิวไทราล) กระจกชนิดนี้จะมีราคาสูงมาก เพราะผลิตมาใช้งานแบบพิเศษจริง ๆ เท่านั้น

กระจกกันกระสุน

กระจกอบเท็มเปอร์ หรือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ ปัจจุบันนิยมนำมาใช้กันอย่างแพ่หลาย เช่นนำมาติดตั้งประตูกระจก หรือหน้าต่างกระจก เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่กระจกอบเท็มเปอร์ จะมีราคาแพงกว่ากระจกธรรมดาเพราะขั้นตอนการทำมีความละเอียดและซับซ้อนมากกว่า

กั้นห้องกระจกติดแอร์

กั้นห้องกระจกติดแอร์

กั้นห้องกระจกตัวแอล

ประเภทของบานประตู หน้าต่างกระจกดีไซน์หรู

ประเภทของบานประตู หน้าต่างกระจกสวย ๆ เป็นช่องเปิดที่มีหลากรูปแบบหลายลักษณะ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามการใช้งานของประตูเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเข้า-ออกจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งได้ และยังมีไว้เพื่อรับแสงธรรมชาติ รับลม ช่วยระบายให้อากาศถ่ายเทและหมุนเวียนได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ ยังทำให้มองเห็นบรรยากาศหรือวิวทิวทัศน์ภายนอกที่สวยงาม
ประเภทของบานประตู และลักษณะของประตู
1. ประตูบานเลื่อน เป็นประเภทของบานประตู ที่มีลักษณะประตูเลื่อนไปด้านข้าง ซึ่งมีทั้งแบบรางเลื่อนบนและรางเลื่อนล่าง และมีทั้งแบบบานเลื่อนเดี่ยว บานเลื่อนคู่ และบานเลื่อนสาม หรือ บานเลื่อนสี่ ประโยชน์ของแต่ละแบบ
1.1 บานเลื่อนเดี่ยวหรือบานเลื่อนคู่กระจกใส จะสามารถมองเห็นวิวได้ทั้งบาน แต่เรื่องการใช้สอยเพื่อเข้า-ออกได้จะเหลือแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น
1.2 ส่วนบานเลื่อนสาม และ บานเลื่อนสี่ จะเปิดใช้งานได้กว้างขึ้น แต่อาจไม่เหลือรางสำหรับติดตั้งมุ้งลวด ข้อดีของประตูประเภทนี้คือ ประหยัดพื้นที่ สามารถใช้เป็นประตูทางเข้าหน้าบ้าน (นิยมใช้แบบรางเลื่อนด้านล่าง)
1.3 ติดตั้งระบบการปิด-เปิดอัตโนมัติได้ โดยระบบอัตโนมัตินี้นิยมใช้ในห้างสรรพสินค้าเพื่อช่วยลดคนที่คอยปิด-เปิดประตูขณะลูกค้าจะเช้า-ออก

ประตูบานเลื่อน
ประตูบานเลื่อน

2. ประตูบานสวิง มีลักษณะเหมือนกับประตูบานเปิด จะแตกต่างกันตรงที่สามารถผลักเข้าผลักออกได้ทั้งสองฝั่งของผนัง บานประตูประเภทนี้มักใช้กรอบอะลูมิเนียมหรือลูกฟักกระจก บริเวณกรอบบานจะมีอุปกรณ์สวิงลักษณะเหมือนแกนซึ่งประตูบานสวิงนี้เหมาะกับพื้นที่สาธารณะที่มีคนเข้า-ออกเป็นประจำ ประตูบานสวิงที่สามารถเปิดเข้าหรือเปิดออกก็ได้ และมีความแข็งแรงกว่าแบบบานเลื่อน

ประเภทของบานประตู
ประตูบานสวิงคู่ กระจกใส

3. ประตูบานเฟี้ยม คือ ประตูที่นำประตูบานเล็กๆ มาต่อกันแล้วสามารถรวบพับเก็บได้ โดยพับทบสลับกันไปรวมที่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน ทำให้เปิดได้กว้างกว่าประตูรูปแบบอื่น ๆ และเปิดได้สุดจึงไม่เปลืองพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการแบ่งพื้นที่ หรือเป็นฉากกั้นห้องภายในบ้าน เช่น กั้นห้องอาหาร หรือห้องนั่งเล่น รวมถึงเป็นประตูจากห้องนั่งเล่นออกสู่ระเบียง นอกจากนี้ ประตูบานเฟี้ยมเป็นที่นิยม นำมาใช้ตกแต่งบ้าน เพราะประหยัดพื้นที่ และมีความสวยงาม ดูดีหรู

ประเภทของบานประตู
ประเภทของบานประตู  บานเฟี้ยม

4. ประตูบานหมุน (Pivot Door) ที่ติดตั้งจุดหมุนไว้กึ่งกลางของบาน หากมีการติดตั้งบานเดียวจะเหลือช่องประตูที่สามารถใช้งานเข้า-ออกได้แค่ครึ่งเดียว ประตูลักษณะนี้เหมาะสำหรับกั้นแบ่งพื้นที่ภายในบ้าน ซึ่งนิยมติดตั้งต่อกันหลายๆ บาน เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างสบาย โดยควรเลือกโช๊คอัพฝังพื้น (Floor Spring) แบบตั้งค้าง 90° แต่หมุนได้รอบ 360° ให้สะดวกต่อการใช้งานได้ดีมาก ๆ
5. ประตูบานเปิด มีทั้งแบบประตูบานเปิดเดี่ยวและบานเปิดคู่ ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ใช้งานที่เอื้ออำนวย สามารถเปิดได้กว้างถึง 180 องศา โดยเลือกเปิดได้ทั้งสองฝั่งของผนัง การเปิดลักษณะนี้จะเปลืองเนื้อที่บริเวณที่ประตูเปิดออกไป จึงต้องเผื่อเนื้อที่สำหรับการเปิดประตูในลักษณะนี้ด้วย และประตูบานเปิดจะนิยมใช้งานเป็นประตูทางเข้าบ้าน รวมถึงประตูภายในบ้านที่เปิดเข้าสู่ห้องแต่ละห้อง ประเภทของบานประตุ กระจกมีหลายประเภท ซึ่งได้นำเสนอเฉพาะที่นิยมในปัจจุบัน หาช่างฝีมือปราณีต ชำนาญงานติดตั้งประตูราคาถูกช่างกระจก

ติดต่อช่างกระจก

error: Content is protected !!