ต่อเติมบ้านเป็นห้องกระจก

ต่อเติมบ้านเป็นห้องกระจก การต่อเติมบ้านเป็นห้องกระจก เช่น ทำโรงจอดรถ ทำมุมกาแฟ ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ต่อเติมห้องออฟฟิต ล้วนแต่ต้องออกแบบมาอย่างสวยงามทั้งสิ้น เช่นโครงหลังคา ผนัง พื้น โดยเฉพาะผนังเป็นการโชว์ความสวยอย่างมี style การเลือกแบบการต่อเติม ส่วนมากจะเลือกผนังแบบกระจกอลูมิเนียม หลังคาตามที่ต้องการ แต่ถ้าหลังคาเป็นกระจก ก็จะเพิ่มความร้อนให้กับตัวบ้านมากยิ่งขึ้น ควรเลือกหลังคาแบบฉนวนกั้นความร้อนจะดีกว่า เพราะสภาพเมืองไทยปัจจุบัน คือ แดดแรง อากาศร้อนชื้น และเพื่อลดการใช้งานเครื่องปรับอากาศให้น้อยลง เปิดระบายอากาศให้มากยิ่งขึ้น รับอากาศที่สดชื้นภายนอกเข้ามา ตัวอย่างการต่อเติมบ้านเป็นกระจก

ต่อเติมบ้านด้วยกระจก

ต่อเติมบ้านเป็นห้องกระจก ต้องใช้ทีมงานช่างที่มีประสบการณฺ์สูง เพราะต้องคำนึงถึงโครงสร้างหลังคา และ ความแข็งแรง สวยงาม ความปลอดภัย ป้องกันกระจกแตก ต้องใช้กระจกชนิดใดด้วย แนะนำช่างกระจกฝีมือดี

หลังคากระจก

ประตูบานเลื่อนเดี๋ยว

กั้นห้องออฟฟิศประตูบานเลื่อน 4 บาน

กระจกอบเทมเปอร์ กระจกนิรภัยเทมเปอร์

กระจกอบเทมเปอร์ หรือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์  (architectural flat tempered safety glass) คือ การนำกระจกแผ่นธรรมดามาเผาที่อุณหภูมิ 650 ถึง 800 องศาเซลเซียส แล้วใช้ลมเป่าทั้งสองด้านเพื่อให้กระจกเย็นลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผิวของกระจกจะอยู่ในสภาพแรงอัด ขณะที่ภายในของกระจกอยู่ในสภาวะแรงดึง ด้วยผิวที่อยู่ในสภาวะแรงอัด  เมื่อกระจกถูกกระแทกหรือทุบจนแตก แผ่นกระจกจะแตกละเอียดเป็นเม็ดเล็ก ๆ  ที่ไม่มีคม มีความแข็งกว่ากระจกธรรมดา 2 ถึง 5 เท่า มักนิยมใช้งานกับยานพาหนะ หรือส่วนของอาคารที่ง่ายต่อการถูกกระแทก

[metaslider id=213]

กระจกอบเทมเปอร์ สามารถเห็นในชีวิตประจำวันได้ง่ายนั้นคือ กระจกหน้ารถยนต์ กระจกหลังคากันสาด กระจกสกายไลท์

กระจกนิรภัยหลายชั้น (architectural flat laminaty safeted glass) เป็นกระจกที่เพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้มากขึ้น

ขั้นตอนการผลิตกระจกอบเทมเปอร์ดังนี้ 

ขั้นที่ 1 การเตรียมกระจก โดยการคัดเลือกกระจกที่มีคุณภาพดี ไม่มีตำหนิ มีความหนา ความกว้าง และความยาว แล้วตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ

ขั้นที่ 2  ทำความสะอาดกระจกซึ่งต้องใช้น้ำสะอาดล้างขัดและเป่ากระจกให้แห้ง ตั้งพักไว้ในที่เหมาะสม

ขั้นที่ 3  การเข้าประกอบวัสดุคั่นกลางกระจก โดยการนำฟิล์มโพลีไวนีลบิวไทราล (polyvinyl butyral) ที่มีคุณสมบัติเหนียวและแข็งแรงทนทานมาปิดทับหน้ากระจก ที่ผ่านการทำความสะอาดแล้ว และนำกระจกอีกแผ่นมาประกบลงบนกระจกแผ่นแรก ดึงฟิล์มให้ดึง โดยประกอบกระจกให้ขอบเสมอกันทุกด้าน แล้วตัดฟิล์มส่วนเกินทิ้งไป

ขั้นที่ 4  การอัดประกบ กระจกที่ประกอบกับวัสดุคั่นกลางแล้ว จะถูกอัดประกบโดยใช้ความร้อนที่มีอุณหภูมิ 120 ถึง 130 องศาเซลเซียส แล้วใช้ลูกกลิ้งรีดกระจกทั้งสองแผ่นให้ติดสนิทกัน

ขั้นที่ 5 การอบ กระจกที่อัดประกอบแล้วจะเป็นกระจกกึ่งสำเร็จรูป คือเนื้อฟิล์มจะใสขึ้นแต่ยังไม่ใสมากนัก จึงต้องนำเข้าเตาอบใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เตาอบใหญ่เป็นเตาอบซึ่งอบกระจกโดยควบคุมความร้อนและความดันจนได้

ขั้นที่ 6  กระจกนิรภัยหลายชั้นมีคุณสมบัติป้องกันขโมยอย่างได้ผลอย่างดี เพราะยากแก่การเจาะผ่าน และเมื่อเกิดการกระแทกหรือชนอย่างรุนแรง ชิ้นส่วนที่แตกจะไม่หลุดออกจากกัน ยังคงสภาพเดิม เพียงแต่มีรอยร้าวเกิดขึ้น ซึ่งสร้างความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อย่างมาก

กระจกชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับกระจกอบเทมเปอร์ ได้แก่

กระจกฉนวน (sealed insulating glass) เป็นกระจก 2 แผ่นวางคู่ขนานกัน มีระยะห่างพอสมควร ขอบกระจกทุกด้านมีสารจำพวกการบรรจุอยู่เพื่อให้กระจกคงรูป และป้องกันอาหาศชื้นจากภายนอกที่จะเข้ามาในช่องว่างระหว่างแผ่นกระจก มีประสิทธิภาพมากกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า มีคุณสมบัติสามารถลดปริมาณความร้อนที่ส่งผ่านกระจก ลดระดับเสียงที่ผ่านผนังอาคารลง

กระจกกันฉนวนกระจกเสริมลวด (wired glass) เป็นกระจกที่มีเส้นลวดแผงตาข่ายลวดฝังภายในกระจก จัดเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง เมื่อแตก เส้นลวดจะช่วยยึดเศษกระจกไม่ให้หลุดลงมา ซึ่งสร้างความปลอดภัยได้เป็นอย่างมาก โดยกระจกชนิดนี้มี 2 ชนิดคือ กระจกชนิดขุ่น (โปร่งแสง) และชนิดใส (โปร่งใส)

กระจกกันกระสุน เป็นกระจกที่ผลิตโดยการนำกระจกนิรภัยชนิดพิเศษมาติดกับกระจกนิรภัยหลายชั้น โดยมีแผ่นพิมพ์-พลาสติกขั้นกลาง (ได้แก่ โพลีคาร์บอเนต โพลีไวนีลบิวไทราล) กระจกชนิดนี้จะมีราคาสูงมาก เพราะผลิตมาใช้งานแบบพิเศษจริง ๆ เท่านั้น

กระจกกันกระสุน

กระจกอบเท็มเปอร์ หรือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ ปัจจุบันนิยมนำมาใช้กันอย่างแพ่หลาย เช่นนำมาติดตั้งประตูกระจก หรือหน้าต่างกระจก เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่กระจกอบเท็มเปอร์ จะมีราคาแพงกว่ากระจกธรรมดาเพราะขั้นตอนการทำมีความละเอียดและซับซ้อนมากกว่า

กั้นห้องกระจกติดแอร์

กั้นห้องกระจกติดแอร์

กั้นห้องกระจกตัวแอล

error: Content is protected !!